top of page
สรุปองค์ความรู้วิทยยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี

แรงและแรงลัพธ์

แรง (Force) หมายถึง สิ่งที่สามารถทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ได้ เช่น ทำให้วัตถุที่อยู่นิ่งเคลื่อนที่ วัตถุที่เคลื่อนที่อยู่เคลื่อนที่เร็วหรือช้าลง ทำให้วัตถุเปลี่ยนทิศทาง รวมทั้งทำให้วัตถุเปลี่ยนรูปร่างหรือขนาดได้ 
ปริมาณทางฟิสิกส์ มี 2 ชนิด คือ

  • ปริมาณเวกเตอร์ (vector quality) หมายถึง ปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง

  • ปริมาณสเกลาร์ (scalar quality) หมายถึง ปริมาณที่มีแต่ขนาดอย่างเดียว ไม่มีทิศทาง

แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ เนื่องจากมีทั้้งขนาดและทิศทาง สัญลักษณ์ของแรงคือ F หน่วยของแรง คือนิวตัน (N) เช่น แรง 1 นิวตัน หมายความว่า ขนาดของแรงที่ทำให้มวล 1 กิโลกรัม เคลื่อนที่ตามแนวแรงด้วยความเร็วที่เปลี่ยนไป 1 เมตรต่อวินาที

ปริมาณเวกเตอร์

1. สัญลักษณ์ของปริมาณเวกเตอร์ ขนาดและทิศทางของปริมาณเวกเตอร์จะแสดงด้วย
ลูกศร โดยขนาดแทนด้วยความยาวของลูกศรและทิศทางแทนด้วยทิศทางของหัวลูกศร อย่างการเขียนเวกเตอร์ของแรงจะใช้ความยาวของส่วนเส้นตรงแทนขนาดของแรงและหัวลูกศรแสดงทิศทางของแรง

 

2. เวกเตอร์ที่เท่ากัน เมื่อมีขนาดเท่ากันและทิศทางไปทางเดียวกัน เวกเตอร์จะเท่ากัน

 

3. เวกเตอร์ตรงข้ามกัน เวกเตอร์ 2 เวกเตอร์จะตรงข้ามกัน เมื่อเวกเตอร์มีขนาดเท่ากัน แต่มีทิศทางตรงข้ามกัน

 

การหาผลลัพธ์ของแรงหลายแรง
การหาผลลัพธ์ของแรงมาจากการรวมแรงหลายแรงให้เป็นแรงเดียว มีหลายวิธี ดังนี้

1. การวาดรูปแบบหางต่อหัว โดยนำหางของแรงที่ 2 ไปต่อหัวลูกศรของแรงแรก และนำหางของแรงที่ 3 ไปต่อหัวแรงที่ 2 ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนครบทุกแรง จะได้แรงลัพธ์ นั่นคือแรงที่ลากจากหางของแรงแรกไปที่หัวของแรงสุดท้าย

ที่มาวีดีโอ https://youtu.be/ZKekJ9tT_ME

การเคลื่อนที่ของวัตถุ

การเคลื่อนที่ของวัตถุในชีวิตประจำมีหลายแบบ เช่น

  • การเคลื่อนที่ในแนวราบ เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุขนานกับพื้นโลก

  • การเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง คือการปล่อยให้วัตถุตกลงสู่พื้นดิน

  • การเคลื่อนที่แบบวงกลม เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นวงกลม ซึ่งมีแรงดึงวัตถุเข้าสู่ศูนย์กลางวงกลม เรียกว่า แรงเข้าสู่ศูนย์กลาง

  • การเคลื่อนที่แนววิถีโค้ง เป็นการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งและแนวราบพร้อมกัน

กฎการเคลื่อนที่

เซอร์ไอแซก นิวตัน นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ได้สรุปเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุทั้งที่อยู่ในสภาพหยุดนิ่ง และในสภาพเคลื่อนที่เป็นกฎ เรียกว่า กฎของนิวตัน ดังนี้

กฎข้อที่ 1 กล่าวว่า “วัตถุจะรักษาสภาพนิ่งหรือสภาพเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัวในแนวตรง นอกจากจะมีแรงลัพธ์ที่มีค่าไม่เป็นศูนย์มากระทำ” สรุปเป็นสมการ

 

  • วัตถุคงสภาพหยุดนิ่ง จะไม่มีแรงมากระทำต่อวัตถุหรือมีแรงลัพธ์เป็นศูนย์

 

  • วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ จะไม่มีความเร่ง (ความเร่งเป็นศูนย์) จึงทำให้ผลลัพธ์ของแรงมีค่าเป็นศูนย์

 

กฎข้อที่ 2 “ความเร่งของวัตถุจะแปรผันตรงและมีทิศเดียวกับแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุ และแปรผกผันกับมวลของวัตถุ เมื่อมีแรงลัพธ์ขนาดไม่เป็นศูนย์มากระทำกับวัตถุ” ดังสมการ

 

F = แรงลัพธ์ หน่วย N (นิวตัน)

m = มวลของวัตถุ หน่วย kg (กิโลกรัม)

a = ความเร่ง หน่วย m/s2 (เมตร/วินาที2)

ถ้ามวลเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง นั่นคือมีแรงมากระทำทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ไปตามทิศแรงลัพธ์

กฎข้อที่ 3 “ทุกแรงกิริยาจะมีแรงปฏิกิริยาโต้ตอบด้วยขนาดของแรงเท่ากัน แต่มีทิศทางตรงกันข้าม”

แรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุหยุดนิ่งหรือวัตถุที่ความเร็วคงที่

จากกฎข้อที่ 1 ของนิวตัน ที่ว่าในสภาพที่หยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ หมายความว่าแรงลัพธ์จะเป็นศูนย์หรือไม่มีแรงมากระทำต่อวัตถุ ตัวอย่างเช่น

  • เมื่อรถหยุดอย่างกะทันหัน จะทำให้คนที่อยู่ในรถจึงพุ่งไปข้างหน้า เนื่องจากในขณะที่รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า คนที่อยู่ในรถจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเดียวกันกับรถ หากรถเบรกกะทันหัน รถจะเปลี่ยนความเร็วเป็นศูนย์ แต่คนในรถยังคงเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเดิมจึงทำให้ยังคงเคลื่อนที่ต่อไปข้างหน้า

  • เมื่อรถเลี้ยวขวา คนจะเอียงไปด้านซ้าย เนื่องจากในขณะที่รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า คนที่อยู่ในรถ จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเดียวกันกับรถ ขณะที่รถเลี้ยวขวา รถจะเปลี่ยนทิศทางของการเคลื่อนที่ แต่คนยังคงมีความเร็วไปทิศทางเดิม ทำให้มองเห็นคนเอียงไปทางซ้าย แต่ถ้ามองจากด้านนอกตัวรถจะมองเห็นคนเคลื่อนที่ไปยังเส้นตรงเหมือนเดิม

bottom of page