
E-portfolio
By Waranya Khamphan
สรุปองค์ความรู้สังคมศึกษา
1. สถาบันทางสังคม
ความหมายของสถาบันทางสังคม หมายถึง รูปแบบพฤติกรรม เพื่อสนองความต้องการด้านต่าง ๆ ในการคงอยู่ของสถาบัน แบบแผนพฤติกรรมตามบรรทัดฐานทางสังคม และ วัฒนธรรม
บทบาทของสถาบันทางสังคม
– กำหนดแบบอย่างการกระทำของสมาชิกในสังคม
– ตอบสนองความต้องการของคนและสังคม
– ควบคุมให้สมาชิกปฏิบัติตามบรรทัดฐาน
– รักษาและถ่ายทอดวัฒนธรรม
– จัดการสังคมให้มีระเบียบและเหมาะกับการเจริญเติบโตสังคม
ความสำคัญของสถาบันทางสังคม ทำให้สังคมของตนดำรงอยู่และเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย
2. สถาบันทางสังคมที่สำคัญ
1) สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันที่ให้การเลี้ยงดูสมาชิกให้พร้อมเป็นสมาชิกสถาบันอื่นต่อ
สถาบันครอบครัวมีบทบาทที่สำคัญ ดังนี้
– สร้างสมาชิกใหม่ทดแทนสมาชิกเก่า สังคมจึงจะสามารถดำรงอยู่ได้
– เลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโตเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เพื่อเลี้ยงดูตนเองได้ในอนาคต
– การอบรมสั่งสอนและปลูกฝังระเบียบของสังคมแก่สมาชิก เพื่อให้สมาชิกรู้และปฏิบัติตนตามกฎ ระเบียบ และบรรทัดฐานสังคมได้
– การให้ความรักและความอบอุ่นแก่สมาชิก
– การกำหนดสถานภาพของบุคคล
– การควบคุมความสัมพันธ์ทางเพศ ให้เป็นไปตามที่สังคมให้การยอมรับ
จงตั้งใจในสิ่งที่ตนเองถนัดและชื่นชอบ
2) สถาบันการศึกษา เป็นสถาบันที่ถ่ายทอดความรู้และอบรมสั่งสอนให้มนุษย์มีความสมบูรณ์
สถาบันการศึกษามีบทบาทที่สำคัญ ดังนี้
– การถ่ายทอดความรู้ วัฒนธรรม และทักษะอันจำเป็นในการดำรงชีวิตของสมาชิก
– การสร้างบุคลิกภาพทางสังคมแก่สมาชิก เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพตนเองให้ดีขึ้น
– การผลิตกำลังแรงงานทางเศรษฐกิจ เพื่อผลิตคนเข้าไปในตลาดแรงงานและพัฒนาประเทศ
– การกำหนดสถานภาพและชนชั้นทางสังคม ช่วยเพิ่มโอกาสในการได้ตำแหน่งหน้าที่การงาน
– การสร้างกลุ่มเพื่อนแก่สมาชิก ทำให้เกิดการเรียนรู้ในการเข้าสังคม
3) สถาบันศาสนา เป็นสถาบันที่เป็นระบบความเชื่อและพิธีกรรม เป็นที่พึ่งทางจิตใจ และหล่อหลอมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
สถาบันศาสนามีบทบาทหน้าที่สำคัญ ดังนี้
– การสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับสังคม เพราะศาสนาสอนให้สมาชิกดำเนินชีวิตแนวทางเดียวกัน
– การสร้างเสริมและถ่ายทอดวัฒนธรรมแก่สังคม วัฒนธรรมในสังคม เกิดจากสถาบันศาสนา
– การควบคุมสมาชิกให้ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม
– การสนองความต้องการทางจิตใจแก่สมาชิก หลักคำสอนของศาสนานำมาแก้ไขปัญหาชีวิตได้
4) สถาบันเศรษฐกิจ ช่วยตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์
สถาบันเศรษฐกิจมีบทบาทที่สำคัญ ดังนี้
– การผลิต เพื่อสนองความต้องการของสมาชิกในสังคม
– การบริโภค ไม่มีการบริโภคสถาบันเศรษฐกิจก็อยู่ไม่ได้
5) สถาบันการเมืองการปกครอง มีอิทธิพลต่อสมาชิกในสังคม เป็นสถาบันที่ออกกฎระเบียบให้สมาชิกในสังคมปฏิบัติตาม
สถาบันการเมืองการปกครองมีบทบาทสำคัญ ดังนี้
– การสร้างระเบียบกฎเกณฑ์ให้สังคมสงบสุข
– การดำเนินการเพื่อสนองความต้องการของสังคม
– การแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม
– การปกป้องคุ้มครองสังคม
6) สถาบันนันทนาการ
เป็นสถาบันที่เกี่ยวกับการพักผ่อนหย่อนใจในชีวิตประจำวันเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด
สถาบันนันทนาการงมีบทบาทสำคัญ ดังนี้
1. ช่วยให้สมาชิกมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้น
2. เสริมสร้างความสามัคคี
3. ปลูกฝังความมีระเบียบวินัยแก่สมาชิก
4. สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
5. ฝึกทักษะความชำนาญในด้านต่างๆ
7) สถาบันสื่อสารมวลชน
เป็นสถาบันที่ให้ความรู้ ความคิด ข่าวสาร ข้อมูลแก่ประชาชนสถาบันสื่อสารมวลชนมีบทบาทสำคัญ ดังนี้
1. ให้ความรู้ และความบันเทิงแก่สมาชิก
2. ให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติ ความคิดเห็น
3. เป็นแหล่งถ่ายทอดวัฒนธรรมและปลูกฝังค่านิยมต่าง ๆ
4. เป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่างสมาชิกของสังคม